วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคที่ลงเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตามความใน พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ซึ่งให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน
การ ส.ส. แบบแบ่งเขตในครั้งนี้มีรูปแบบการลงคะแนนเป็นแบบ "เขตเดียวเบอร์เดียว" หรือผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ขณะที่การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อปี พ.ศ. 2550 นั้นเป็นแบบ "เขตเดียวสามเบอร์" หรือผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง สามารถเลือกผู้สมัครได้จำนวน 1-3 คน ตามขนาดของการแบ่งเขตพื้นที่

เนื้อหา


เบื้องหลัง

จากเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 นำมาสู่การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งมีขึ้น ในวันที่ 28-29 มีนาคม 2553 ระหว่างตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล อันประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับตัวแทนจากทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์, วีระ มุสิกพงศ์ และนายแพทย์เหวง โตจิราการ ที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งทางฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม เสนอให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน และมีการเลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอ เนื่องจากไม่เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะยุติลงได้หลังเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยรัฐบาลยินดีที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยกำหนดระยะเวลาการยุบสภาภายในเวลา 9 เดือน
จากนั้นได้มีข้อเสนอจัดการเลือกตั้งนั้นซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ตาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ระบุในข้อเสนอปรองดองว่าเขาจะดำเนินการตามแผนการเลือกตั้งต่อไป แม้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวก็ตาม หากมิได้กำหนดวันเลือกตั้งแน่ชัด ซึ่งแม้ว่าแกนนำ นปช. จะตอบรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ยังคงทำการชุมนุมต่อไป โดยอ้างว่ามีเพียงคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งได้ นายกรัฐมนตรีจึงถอนข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 จากนั้นก็ได้เกิดการสลายการชุมนุมตามมา
การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นถึงความจำเป็นก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นนั้นผ่านสภาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ได้มีการประกาศว่าจะมีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมซึ่งหลังจากมีการประกาศถึงเจตนารมย์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากขาดประชุมสภา โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง วันที่ 29- 31 มีนาคม 2554 นั้นสภาล่มถึง 3 วันติดต่อกัน เพราะมีผู้เข้าประชุมไม่ครบกึ่งหนึ่งของสภา โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมี ส.ส.ขาดประชุมทั้งหมด 175 คน จากจำนวนทั้งหมด 188 คน เป็นเวลา 3 วันติดต่อกันจนท้ายที่สุดมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 พฤษภาคม
โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศยุบสภานั้น เริ่มตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา พบว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพจนทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนนโยบายต่างประเทศหากพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เวลาล่าช้าออกไป จะยิ่งทำให้คะแนนนิยมของพรรคตกต่ำลง

 พรรคการเมืองที่ลงสมัคร

พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ
ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1ทางพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่เกิดจากการรวมพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ส่งชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรครักประเทศไทย ได้ส่งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 โดยประกาศจะขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ส่วนพรรคการเมืองใหม่ โฆษกพรรค สุริยะใส กตะศิลา ยืนยันว่าพรรคจะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ออกมาประกาศว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่มติพรรค

 รายชื่อพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ

หมายเลขพรรคการเมือง
1พรรคเพื่อไทย
2พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
3พรรคประชาธิปไตยใหม่
4พรรคประชากรไทย
5พรรครักประเทศไทย
6พรรคพลังชล
7พรรคประชาธรรม
8พรรคดำรงไทย
9พรรคพลังมวลชน
10พรรคประชาธิปัตย์
11พรรคไทยพอเพียง
12พรรครักษ์สันติ
13พรรคไทยเป็นสุข
14พรรคกิจสังคม
15พรรคไทยเป็นไท
16พรรคภูมิใจไทย
17พรรคแทนคุณแผ่นดิน
18พรรคเพื่อฟ้าดิน
19พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
20พรรคการเมืองใหม่
21พรรคชาติไทยพัฒนา
22พรรคเสรีนิยม
23พรรคชาติสามัคคี
24พรรคบำรุงเมือง
25พรรคกสิกรไทย
26พรรคมาตุภูมิ
27พรรคชีวิตที่ดีกว่า
28พรรคพลังสังคมไทย
29พรรคเพื่อประชาชนไทย
30พรรคมหาชน
31พรรคประชาชนชาวไทย
32พรรครักแผ่นดิน
33พรรคประชาสันติ
34พรรคความหวังใหม่
35พรรคอาสามาตุภูมิ
36พรรคพลังคนกีฬา
37พรรคพลังชาวนา
38พรรคไทยสร้างสรรค์
39พรรคเพื่อนเกษตรไทย
40พรรคมหารัฐพัฒนา